การประกาศปิดโรงงานเหล็ก ของ บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัทฯ มาโดยตลอดตามระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปี บริษัทฯประสบปัญหาขาดทุนสะสมมาโดยตลอด
โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ประกาศเลิกจ้างพนักงาน หลังเจอปัญหาขาดทุนสะสม
ปิดฉาก 59 ปี “โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ” ขาดทุนทุกปีสูงสุดหลักพันล้าน
ซึ่งหากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้นายธีรยุทธ เลิศศิรรังสรรค์ นายกสมาคมเหล็กลวดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตเหล็กลวดไทย กำลังเผชิญความเดือดร้อน เพราะมีการนำเข้าเหล็กลวดจากต่างประเทศ
ทั้งจากจีน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และรัสเซีย เข้ามาตีตลาด เสนอขายในราคาที่ต่ำ ทำให้ต้องเรียกร้องให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้ผลิตเหล็กลวดไทย และภาพรวมอุตสาหกรรมอยู่รอด
อย่างไรก็ตาม ปีนี้อาจไม่ใช้ปีทองของอุตสาหกรรมเหล็กไทยเท่าไหร่นัก ซึ่งจากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกร มองว่าแนวโน้มราคาเหล็กไทยในปี 2566 คาดว่าจะย่อลงจากปีที่ผ่านมาในกรอบ -10% ถึง -6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเสี่ยงสูง
เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นทั้งผู้ผลิต-ผู้บริโภคหลักมีสัญญาณหดตัวของอุปสงค์ทำให้มีประเด็นที่ต้องติดตาม คือ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจส่งผลให้กำลังการผลิตเหล็กส่วนเกินของจีนอาจถูกระบายไปยังประเทศอื่น ๆ รวมถึงไทย รวมถึงพิจารณาต่ออายุการบังคับใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าสำหรับแผ่นเหล็กรีดร้อนจากจีนซึ่งอาจทำให้ราคาเหล็กไทยในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนตรงนี้อาจสอดคล้องกับที่นายกสมาคมเหล็กลวดไทย เคยกล่าวไป
ส่วนความต้องการใช้ในประเทศยังให้ภาพที่ระมัดระวังจากภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพที่ยังยืนสูงกดดันกำลังซื้อของภาคเอกชน และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจส่งผลต่อการอนุมัติงบประมาณประจำปี 2567 ให้ล่าช้าจนกระทบต่อโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ของภาครัฐให้เลื่อนออกไป
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดราคาเหล็กยังถือว่ายืนสูง จากต้นทุนการผลิต/การจัดการ (ค่าไฟ ค่าแรง และค่าขนส่ง) ในประเทศบางด้านที่ปรับตัวสูงขึ้น
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เข้มข้นขึ้น-กระแส Net Zero ตัวกดดัน
มองไปข้างหน้า มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เข้มข้นขึ้นและกระแส Net Zero จะกระทบผู้เล่นในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล็กไทยให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นในกรอบเวลาที่แตกต่างกัน
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าในระยะสั้นกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบก่อนผู้เล่นอื่น ๆ ในห่วงโซ่ ได้แก่
1. ผู้ผลิตเหล็ก/ผู้ค้าเหล็กที่มีการส่งออกเหล็กไปยังตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ที่จะมีการบังคับใช้มาตรการ CBAM
2. ผู้ผลิตเหล็ก/ผู้ค้าเหล็ก/ผู้ใช้เหล็กที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการใช้เหล็กที่มีการตั้งเป้ามุ่งสู่ Net Zero อย่างชัดเจน โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลให้กลุ่มผู้เล่นเหล่านี้น่าจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากการต้องจัดซื้อเหล็กวัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาผลิตและส่งออกเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด อย่างไรก็ดีคำพูดจาก เว็บสล็อต PG
ระยะยาว คาดว่าราคาเหล็กทั่วโลกอาจมีแนวโน้มปรับฐานใหม่ตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากการปรับปรุงเทคโนโลยีกระบวนการผลิต ส่งผลให้ทุกผู้เล่นในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล็กไทยคงหลีกเลี่ยงต้นทุนเหล็กวัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่อาจปรับเพิ่มขึ้นนี้ได้ยาก
แม้ว่าช่วงแรกความเร่งด่วนในการปรับตัวอาจยังมีไม่มากและจำกัดเฉพาะกลุ่ม แต่ภาคธุรกิจคงต้องทยอยปรับปรุงกระบวนการผลิตในการลดการปล่อยคาร์บอนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวไว้
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกร